แจ้งผู้เยี่ยมชม...บล๊อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการบัญชีและการจัดการระหว่างผู้เยี่ยมชม

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

งบแสดงฐานะการเงิน


งบดุล (Balance Sheet) หรือ งบแสดงฐานะการเงิน
                
คือ  รายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อฐานะการเงินของกิจการ  ณ  ขณะใดขณะหนึ่งโดยทั่วไปจะแสดงข้อมูลสิ้นสุดวันใดวันหนึ่ง    โดยจะแสดงถึงข้อมูลต่างๆ ดังนี้
                1. ทรัพยากรต่างๆ  ที่กิจการเป็นเจ้าของหรือมีอยู่  มีจำนวนเท่าใด  ประกอบด้วยอะไรบ้าง
                2. ภาระผูกพันต่อบุคคลภายนอกมีจำนวนเท่าใด  ประกอบด้วยอะไรบ้าง
                3. ส่วนของเจ้าของกิจการมีจำนวนเท่าใด  ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ซึ่งงบดุลจะประกอบไปด้วย  1.สินทรัพย์   2.หนี้สิน  3.ส่วนของเจ้าของหรือส่วนของผู้ถือหุ้น
งบดุลมีรูปแบบอยู่ 2 แบบคือ
1. แบบบัญชี (Account Form) เป็นรูปแบบที่รายงานสินทรัพย์ไว้ด้านซ้าย  ส่วนด้านขวาเป็นข้อมูลหนี้สินและส่วนของเจ้าของ

ตัวอย่าง



                ให้สังเกตว่างบดุลข้างต้นนี้จะแสดงชื่อกิจการ  ชื่อของรายงาน  และวันที่ของงบดุล  โดยแสดงสินทรัพย์ 600,000  ไว้ด้านหนึ่ง  หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้นไว้ด้านหนึ่งรวม 600,00  เท่ากันไว้อีกด้านหนึ่ง  งบดุลอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  งบแสดงฐานะการเงิน
2. แบบรายงาน (Report form)  เป็นรูปแบบที่รายงานสินทรัพย์อยู่ส่วนบน  สำหรับหนี้สินและส่วนของเจ้าของไว้ส่วนล่างของรายงาน
สำหรับหมวดหมู่ในงบดุล  ผู้ทำรายการจะต้องรู้จัก  ความหมายของแต่ละหมวดหมู่  ซึ่งมีดังต่อไปนี้
1. สินทรัพย์  คือ  สิทธิและทรัพยากรที่กิจการมีอยู่  ซึ่งเกิดจากการประกอบการ  และสามารถแสดงเป็นตัวเงิน สามารถที่จะให้ประโยชน์ในอนาคต  ซึ่งแบ่งออกเป็น
                - สินทรัพย์หมุนเวียน  หมายถึง  เงินสดหรือสินทรัพย์อื่นๆที่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดได้ภายในระยะเวลา 1 ปี  หรือ1 รอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการ  เช่น  เงินสด  เงินฝากธนาคาร  ลุกหนี้ที่สามรารถชำระภายในรอบระยะเวลาบัญชี  สินค้าคงเหลือ  รวมไปถึงค่าใช้จ่ายล่วงหน้าอื่นๆ  เช่นค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า
                - สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน  หมายถึง  สินทรัพย์  ที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายใน 1 ปีหรือ 1รอบระยะบัญชีของกิจการ  ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่ามาก  และมีความถาวร  เช่น  อาคาร  ที่ดิน รวมไปถึงเงินลงทุนในบริษัทอื่นๆ  ที่ลงทุนในระยะยาว
การจัดเรียงสินทรัพย์ในงบดุล  หลักการโดยทั่วไปในการจัดลำดับก่อนและหลังนี้  พิจารณาการจัดลำดับของสภาพคล่องตัวที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสด (Liquid) ได้ง่ายที่สุดไว้เป็นอันดับแรก  แล้วจึงตามด้วยสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องตัวในการเปลี่ยนเป็นเงินสดน้องกว่าไปตามลำดับ 
2. หนี้สิน  คือ พันธะผูกพันที่บุคคลภายนอกได้แก่เจ้าหนี้มีต่อกิจการอันเกิดจากรายการทางธุรกิจ  การกู้ยืมหรือจากเหตุการณ์อื่นๆ  ที่จะต้องชำระคืนในภายหน้าด้วยสินทรัพย์หรือบริการ  ตัวอย่างของหนี้สินของหนี้สิน  เช่น เจ้าหนี้การค้า  เจ้าหนี้เงินกู้  ตั๋วเงินจ่าย  ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
                - หนี้สินหมุนเวียน คือ พันธะผูกพันที่ต้องมีการจ่ายชำระคืนแก่เจ้าหนี้ไม่เกิน 1 ปี  หรือในรอบระยะเวลาการปฏิบัติงานตามปกติของกิจการ  เช่นเจ้าหนี้ทางการค้า  ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 
                - หนี้สินระยะยาว  คือ หนี้สินที่มีกำหนดชำระมากกว่า 1 ปี  หรือเกินกว่าระยะเวลาการปฏิบัติงานตามปกติของกิจการ  เช่น  หุ้นกู้  เงินกู้ระยะยาว+
การจัดเรียงในงบดุลนั้น  ให้ใช้ระยะเวลาการชำระคืนก่อนหลังเป็นเกณฑ์ในการติดสิน  ในการแสดงรายการในงบดุล  ห้ามมิให้นำสินทรัพย์หมุนเวียนไปหักลบกับหนี้สินหมันเวียน
3. ส่วนของเจ้าของหรือส่วนของผู้ถือหุ้น  คือ  สิทธิเรียกร้องหรือส่วนได้เสียที่เจ้าของมีอยู่เหนือสินทรัพย์  หลังจากได้หักสิทธิเรียกร้องที่เป็นของเจ้าหนี้ออกไปแล้ว  หรือกล่าวได้ว่าคือสินทรัพย์สุทธิ  หรือส่วนที่สินทรัพย์มากกว่าหนี้สิน (สินทรัพย์ – หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ)  ส่วนของเจ้าของนี้ถ้าธุรกิจเป็นบริษัท จำกัด  เรียกว่า ส่วนของผู้ถือหุ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น