แจ้งผู้เยี่ยมชม...บล๊อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการบัญชีและการจัดการระหว่างผู้เยี่ยมชม

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

คุณสมบัติของนักบัญชี

คุณสมบัติของนักบัญชีที่ดี


"เมื่อกล่าวถึงนักบัญชีทุกคนคงนึกถึงคนที่ต้องทำงานคลุกคลีอยู่กับตัวเลขและเอกสารหลักฐานต่างๆทางการเงิน ของบริษัทเป็นคนที่มียึดมั่นในหลักการ และทำตามขั้นตอนที่เป็นแบบแผนอยู่ตลอดเวลา สำหรับผู้ที่เรียนมาทางด้านการบัญชี และต้องการทำงานด้านนี้ คำแนะนำเกี่ยวกับคุณสมบัติของนักบัญชีที่ดีที่จะกล่าวต่อไปนี้นักบัญชีทั้งหลายพลาดไม่ได้โดยเด็ดขาด"
1.ซื่อสัตย์ มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เนื่องจากนักบัญชีจะรับทราบตัวเลขความเคลื่อนไหวทางการเงินของบริษัทอยู่ตลอดเวลา นักบัญชีที่ดีจะไม่เปิดเผยข้อมูลต่างๆ ทางการเงินของบริษัทเด็ดขาด
2.ขยัน อดทน รับผิดชอบงานในหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงตามกำหนดเวลา จึงเป็นเรื่องปกติที่จะเห็นนักบัญชีกลับบ้านดึกกว่าแผนกอื่นเสมอ
3.ละเอียดรอบคอบ ถี่ถ้วน ในการมอบหรือรับมอบเอกสารเกี่ยวกับการเงิน ควรเรียกเก็บหลักฐานทางการเงิน และตรวจสอบความถูกต้องทุกครั้ง ควรจัดเก็บเอกสารการเงิน การบัญชีทุกฉบับไว้ในที่ปลอดภัย ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
4.มีความรู้แน่นภาคทฤษฎี และประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจได้ นักบัญชีจำเป็นต้องนำทฤษฎีมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความเข้าใจในธุรกิจของบริษัท และนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับธุรกิจได้ด้วย
5.สร้างแรงกดดันให้ตนเอง ในการทำงานควรมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และหาวิธีที่จะทำให้ได้ตามเป้า นอกจากนั้น นักบัญชียังสามารถพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลา ด้วยการกำหนดเวลาในการทำงานให้สั้นลง หรือขอทำงานที่ยากขึ้นเรื่อยๆ
6.กล้านำเสนอ แนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นประโชน์ต่อบริษัท รวมทั้ง รีบแจ้งผู้มีอำนาจทราบทันที เมื่อพบการทุจริต หรือความเสียหายใดๆ
7.ทบทวนตนเองทุกปี ตั้งคำถามว่าตนเองต้องการอะไร และในปีที่ผ่านมาทำอะไรไปแล้วบ้าง ยังมีอะไรที่ต้องทำอีกบ้าง มีอะไรที่ผิดพลาดบ้าง เพื่อหาทางแก้ไข และปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น ไม่ให้เกิดความผิดพลาดอีกเป็นครั้งที่สอง
8.เปิดรับเทคโนโลยี ข้อมูล ข่าวสาร และสิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา นักบัญชีควรหาโอกาสพูดคุยพบปะกับคนในวิชาชีพเดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด และเข้าใจวิธีการทำงานของคนอื่น รวมทั้งหมั่นศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการบัญชี และภาษีอากรที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ
ปล..คุณสมบัติเหล่านี้ ไม่ได้มีติดตัวมาแต่กำเนิดแต่อย่างใด หากใครใฝ่ฝันอยากเป็นนักบัญชีที่ดีแล้วล่ะก็เริ่มต้นสร้างมันตั้งแต่วันนี้ ไม่มีสิ่งใดยากเกินความตั้งใจของเราอยู่แล้ว

ผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชี (Users of Accounting Information)

ผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชี (Users of Accounting Information)




1. เจ้าของกิจการ (The Owner) หากกิจการเป็นกิจการเจ้าของคนเดียว เจ้าของก็คือผู้ก่อตั้งกิจการ แต่ถ้าเป็นกิจการห้างหุ้นส่วน เจ้าของกิจการก็คือผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน และถ้าเป็นกิจการบริษัทจำกัด เจ้าของกิจการก็คือผู้ถือหุ้น ซึ่งเจ้าของกิจการเหล่านี้จะนำข้อมูลทางการบัญชีของกิจการไปใช้ในการวางนโยบายของกิจการ เช่นจะขยายกิจการ หรือจะเลิกกิจการซึ่งการตัดสินใจในเรื่องเหล่านี้จะต้องอาศัยข้อมูลทางการบัญชีของกิจการว่าที่ผ่านมากิจการมีผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร และ ณ ปัจจุบันกิจการมีฐานะทางการเงินเป็นอย่างไร เป็นต้น
2. ผู้บริหาร (Manager) ในกิจการประเภทห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด เจ้าของกิจการอาจจะเป็นคนเดียวกับผู้บริหารหรือไม่ก็ได้ ซึ่งผู้บริหารนี้จะใช้ข้อมูลทางการบัญชีของกิจการไปใช้ในการบริหารกิจการให้ประสบผลสำเร็จตามนโยบายที่ได้รับจากเจ้าของกิจการ
3. เจ้าหนี้หรือแหล่งเงินกู้ต่าง ๆ (Creditors) เจ้าหนี้จะใช้ข้อมูลทางการบัญชีของกิจการไปใช้ในการตัดสินใจที่จะให้เครดิตกับกิจการ โดยจะพิจารณาจากฐานะทางการเงินของกิจการ ความสามารถในการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยของกิจการ เป็นต้น
4. นักลงทุน (Investors) นักลงทุนจะใช้ข้อมูลทางการบัญชีของกิจการไปใช้ในการตัดสินใจในการที่จะเข้ามาลงทุนในกิจการ โดยผู้ลงทุนจะพิจารณาจาก ผลการดำเนินงานของกิจการ ฐานะทางการเงินของกิจการ ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ นโยบายการจ่ายเงินปันผลของกิจการ เป็นต้น
5. ลูกค้าและซัพพลายเออร์ (Customers and Suppliers) ลูกค้าและซัพพลายเออร์จะใช้ข้อมูลทางการบัญชีของกิจการไปใช้ในการตัดสินใจที่จะค้าขายกับกิจการ โดยจะพิจารณาจากผลการดำเนินงานของกิจการ ฐานะทางการเงินของกิจการ สภาพคล่องของกิจการ เป็นต้น
6. พนักงานหรือลูกจ้าง (Employees) พนักงานหรือลูกจ้างจะใช้ข้อมูลทางการบัญชีของกิจการไปใช้ในการตัดสินใจในการทำงานกับกิจการ โดยจะพิจารณาจากความมั่นคงคือฐานะทางการเงินของกิจการ ผลการดำเนินงานของกิจการ เพื่อประเมินความสามารถในการจ่ายค่าจ้างค่าตอบแทน และโอกาสในการจ้างงาน
7. คู่แข่ง (Competitors) คู่แข่งจะใช้ข้อมูลทางการบัญชีของกิจการไปใช้ในการตัดสินใจบริหารงานของคู่แข่ง เพื่อจะให้สามารถแข่งขันกับกิจการได้
8. รัฐบาลและหน่วยงานราชการ (Government Agencies) หมายถึงหน่วยงานราชการที่ต้องการข้อมูลทางการบัญชีของกิจการไปใช้ในงานต่าง ๆ ของทางราชการ เช่น กรมสรรพากรต้องการนำข้อมูลทางการบัญชีของกิจการไปใช้คำนวณการจัดเก็บภาษี หรือ นำไปเป็นฐานในการคำนวณรายได้ประชาชาติ หรือจัดทำสถิติต่าง ๆ
9. บุคคลทั่วไป เช่น นิสิต นักศึกษา อาจารย์ ที่ต้องการนำข้อมูลทางการบัญชีของกิจการไปใช้ในการเรียนการสอน สื่อมวลชนต้องการนำไปเสนอข่าว เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าผู้ที่ใช้ข้อมูลทางการบัญชีของกิจการมีด้วยกันมากมายหลายฝ่าย ซึ่งแต่ละฝ่ายก็ต้องการข้อมูลที่แตกต่างกันไป โดยเราจะแบ่งผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชีได้เป็น 2 ฝ่ายใหญ่ ๆ คือ ฝ่ายผู้ใช้ภายในกิจการ (Internal Users) อันได้แก่ เจ้าของและผู้บริหารกิจการ กับฝ่ายผู้ใช้ภายนอกกิจการ (External Users) อันได้แก่ เจ้าหนี้ ผู้ลงทุน หน่วยงานรัฐบาล และอื่น ๆ ดังนั้นข้อมูลทางการบัญชีเราจึงสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนเช่นเดียวกัน คือข้อมูลทางการบัญชีที่นำเสนอแก่ผู้ใช้ภายในกิจการเราเรียกว่า การบัญชีบริหารหรือการบัญชีเพื่อการจัดการ (Managerial Accounting) กับข้อมูลทางการบัญชีที่นำเสนอแก่ผู้ใช้ภายนอกกิจการเราเรียกว่า การบัญชีการเงิน (Financial Accounting)

การจัดหมวดหมู่และการกำหนดเลขที่บัญชี

 การที่จะทำการบันทึกรายการค้าในบัญชีแยกประเภทต่าง ๆ  ให้ละเอียดและเป็นระเบียบเรียบร้อยสะดวกแก่การจัดทำรายงานเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงและค้นหาภายหลังนั้น  ควรจัดบัญชีต่าง ๆ  ให้เป็นหมวดหมู่และกำหนดเลขที่สำหรับหมวดหมู่บัญชีไว้ใน  “ผังบัญชี”  (Chart of Account)
        การจัดหมวดหมู่ของบัญชี  แบ่งเป็น  5  หมวด  ได้แก่
           1. หมวดสินทรัพย์
           2. หมวดหนี้สิน
           3. หมวดส่วนของเจ้าของ (ทุน)
           4. หมวดรายได้
           5. หมวดค่าใช้จ่าย
ผังบัญชี (Chart of Accounts)
        ผังบัญชี หมายถึง การจัดบัญชีและกำหนดเลขที่บัญชีให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อใช้ในการอ้างอิงเมื่อผ่านรายการ จากสมุดรายวันทั่วไปไปบัญชีแยกประเภททั่วไป
               เลข 1    สำหรับหมวดสินทรัพย์
               เลข 2    สำหรับหมวดหนี้สิน
               เลข 3    สำหรับหมวดส่วนของเจ้าของ
               เลข 4    สำหรับหมวดรายได้
               เลข 5    สำหรับหมวดค่าใช้จ่าย 


   ตัวอย่างผังบัญชี



^เธอทั้งนั้น^

ความรู้ด้านการบัญชี





การบัญชีและการทำบัญชี
                    งานของการทำบัญชี เป็นเรื่องของการบันทึกรายการค้าหรือข้อมูลทางบัญชีที่เกิดขึ้นในสมุดบัญชีจนกระทั่งจัดทำงบการเงิน ผู้ที่มีหน้าที่ในการบันทึกบัญชีเรียกว่า ผู้ทำบัญชี (Bookkeeper) ส่วนการบัญชีเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบการบันทึกบัญชี การจัดทำรายงานการเงินและแปลความหมายของรายงานการเงิน นักบัญชี (Accountant) มีหน้าที่จัดวางระบบบัญชีของกิจการ ควบคุมและตรวจตรางานของผู้ทำบัญชี ดังนั้นนักบัญชีต้องเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์มากว่าผู้ทำบัญชี
 จากคำจำกัดความของคำว่า การบัญชี สามารถอธิบายความหมายได้ดังนี้
1.ขั้นตอนของการเลือกและการเก็บรวบรวม คือการพิจารณาว่ารายการที่เกิดขึ้นเป็นรายการค้าหรือไม่ (เป็นเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่กิจการต้องนำมาบันทึกหรือไม่) ต้องเก็บรวบรวมเอกสารหลักฐานเพื่อไว้ใช้ในการบันทึกบัญชี
2. การจดบันทึกและการวัดมูลค่า เป็นการนำข้อมูลเอกสารจากขั้นตอนแรกมาบันทึกรายการทางบัญชีหรือรายการค้าและเหตุการณ์ ซึ่งจะต้องเป็นรายการหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมาบันทึกลงในสมุดบัญชี เรียกว่า สมุดรายวัน (Journal) การบันทึกจะมีการวัดมูลค่าเข้ามาเกี่ยวข้อง การวัดมูลค่า หมายถึง การแสดงมูลค่าของรายการนั้นๆ จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าเป็นรายการประเภทไหน เช่น วัดด้วยราคาทุน (ราคา ณ วันที่ได้มา) หรือวัดด้วยราคายุติธรรม (ราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีความเต็มใจในการซื้อขายกัน ไม่มีใครมีอำนาจเหนือใคร)
3. การใช้หน่วยเงินตรา การบันทึกรายการทางบัญชีต้องใช้หน่วยเงินตรา เช่น บาท ดอลลาร์ เป็นต้น และถือว่าจำนวนที่บันทึกลงไปแต่ละหน่วยจะมีค่าคงที่ แม้ค่าของเงินจะเปลี่ยนแปลง
4. การจัดหมวดหมู่ เพื่อหายอดคงเหลือของทุกรายการโดยการแยกประเภทบัญชีเป็นสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ และค่าใช้จ่าย ในการจัดหมวดหมู่จะใช้สมุดบัญชีที่เรียกว่า สมุดแยกประเภท (Ledger)
5. การสรุปผลและการรายงานข้อมูลทางการเงิน เมื่อมีการบันทึกบัญชีไประยะหนึ่ง จะต้องนำรายการที่จัดหมวดหมู่มาสรุปผลดำเนินการและฐานะของกิจการโดยจัดทำ งบการเงิน (Financial Statement) ซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วนคือ
1)      งบกำไรขาดทุน
2)      งบดุล
3)      งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น
4)      งบกระแสเงินสด
5)      นโยบายบัญชี และหมายเหตุประกอบงบการเงิน นโยบายบัญชี เป็นหลักการทางบัญชีที่กิจการใช้ในการจัดทำ และนำเสนองบการเงิน สำหรับหมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญทำให้ผู้ใช้งบการเงินได้ทราบหลักปฏิบัติทางบัญชีที่กิจการเลือกใช้ในการจัดทำและนำเสนองบการเงิน



ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อก

บล็อกนี้เป็นบล็อกส่วนตัว ที่ใช้ประกอบการเรียนรายวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน