แจ้งผู้เยี่ยมชม...บล๊อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการบัญชีและการจัดการระหว่างผู้เยี่ยมชม

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

บัญชีครัวเรือน


บัญชีครัวเรือน 


การทำบัญชีรับ-จ่าย

หมายถึง การจดบันทึกรายการเกี่ยวกับการเงินทุกรายการ ทั้งที่ได้รับเข้ามาและที่ต้องจ่ายออกไป 
เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการดำเนินกิจการว่า ได้กำไร หรือ ขาดทุน เพียงไร

ประโยชน์ของการทำบัญชีรับ-จ่าย 
      1.เพื่อจดบันทึกรายการการดำเนินกิจการเรียงลำดับก่อนหลัง 
      2.ง่ายต่อการตรวจสอบ
      3.เป็นการควบคุมรักษาทรัพย์สินของกิจการ
      4.ป้องกันความผิดพลาดในการดำเนินกิจการ 
      5.สามารถปรับปรุงแก้ไขทัน
       6.ทำให้ทราบฐานะของกิจการ
       7.เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบผลกำไร-ขาดทุนได้ทุกเวลา 

หลักการทำบัญชีรับ-จ่าย 
      - จัดทำแบบฟอร์มบัญชีรับจ่ายอย่างง่าย ให้สะดวกต่อการจดบันทึกรายการ
      - จดบันทึกรายการเรียงลำดับตามเหตุการณ์ที่เป็นจริงที่เกิดขึ้น
      - สรุปยอดเงินรายรับรายจ่าย ประจำวัน เปรียบเทียบผลการดำเนินกิจการประจำวัน                
         ยกยอดเงินในบัญชีรับ-จ่ายไปไว้ในวันถัดไป หากเป็นกิจการที่ไม่มีรายรับ-จ่ายทุกวัน 
          อาจสรุปและประเมินผลรายรับ-จ่าย เป็นรายเดือนหรือ 2-3 เดือนก็ได้

การทำบัญชี ถึงช้า แต่ ชัดเจน (slow but sure)

รายรับ มีที่มา 15 แหล่ง / ตักน้ำใส่ตุ่ม

จากการผลิต หยาดเหงื่อ แรงงานตนเอง
     1. ขายผลผลิตจากการทำเกษตร
     2. ขายผลผลิตจากการเลี้ยงสัตว์-ผลพลอยได้จากสัตว์
     3. ขายผลผลิตจากหัตถกรรม
     4. ขายสินค้าที่ซื้อมา หรือซื้อมา-ขายไป เช่น ร้านชำ ขายข้าวแกง
     5. ขายพืช-สัตว์ ที่หาจากธรรมชาติ รวมถึงการเก็บขยะขาย

รายได้ จากการให้บริการ  
     6.   ค่าจ้างจากการทำงาน
     7.   เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง คอมมิชชั่น
     8.   เงินสงเคราะห์ บำเหน็จ บำนาญ โบนัส
     9.   รายได้จากการขาย/ให้เช่า ที่ดิน ยานพาหนะ เครื่องมือ
   10. รายรับจากดอกเบี้ยเงินให้กู้ เงินฝาก เงินลงทุน

ถึงได้ แต่ ไม่แน่นอน ซ้ำอาจมีภาระ
   11.  รายได้จากการเสี่ยงโชค
   12. ได้รับจากการกู้ยืม
   13.  ญาติที่อยู่นอกครัวเรือนส่งมาให้
   14.  เงินช่วยงานแต่ง งานศพ ฯลฯ
   15.  ลาภลอย กรณีพิเศษ

 รายจ่าย เงินไหลออก 7 ช่องทาง
    1.  ค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพ 
    2.  ค่าอาหาร 
    3.  ค่ายา-สุขภาพอนามัย 
    4.  เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ 
    5.  ที่อยู่อาศัย 
    6.  ลงทุน-สังคม-พักผ่อน หย่อนใจ 
    7.   การศึกษา

วงจร เป็น หนี้ เกิด เมื่อเรารับ ไม่ทันจ่าย
     -   จะแก้อย่างไร : วิถีชีวิต
     -   จะลดค่าใช้จ่าย อะไร ได้บ้าง
     -   เพิ่มรายได้

ที่มา: http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=7851.0 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น