แจ้งผู้เยี่ยมชม...บล๊อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการบัญชีและการจัดการระหว่างผู้เยี่ยมชม

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

                      
การสอบบัญชี 




     วัตถุประสงค์ของการสอบบัญชี 
         ตามมาตรฐานการสอบบัญชี ฉบับที่ 200 เรื่องวัตถุประสงค์และหลักการพื้นฐานของการสอบบบัญชีได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการสอบบัญชีดังนี้
“การตรวจสอบงบการเงินมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สอบบัญชีสามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินว่างบการเงินนั้นได้จัดทำในส่วนสาระสำคัญ
เป็นไปตามแม่บทการบัญชีในการรายงานทางการเงินหรือไม่”
         ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบงบการเงิน คือ การแสดงความเห็นว่างบการเงินนั้นได้แสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงานและกระแสเงินสด
ของกิจการโดยถูกต้องตามควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่ 


     การสอบบัญชี
        การสอบบัญชี หมายถึงกระบวนการรวบรวม และการประเมินหลักฐานเกี่ยวกับสารสนเทศเพื่อระบุและรายงานเกี่ยวกับระดับความสอดคล้อง
ต้องกันของสารสนเทศนั้นกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้และสื่อสารผลลัพธ์ให้ผู้ใช้ที่สนใจ

     กระบวนการสอบบัญชี
        การสอบบัญชีเป็นกระบวนการของการรวบรวมและประเมินหลักฐานการสอบบัญชี เพื่อให้ผู้สอบบัญชีสามารถสรุปผลการตรวจสอบและ
จัดทำรายงานการสอบบัญชีได้
กระบวนการสอบบัญชีแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน
        1. กระบวนการวางแผน
                1.1 การพิจารณารับงานสอบบัญชี
                1.2 การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ
                1.3 การวิเคราะห์เปรียบเทียบในเบื้องต้น
                1.4 การกำหนดระดังความมีสาระสำคัญ
                1.5 การประเมินความเสี่ยงในการสอบบัญชีที่ยอมรับได้และความเสี่ยงสืบเนื่อง
                1.6 การทำความเข้าใจระบบการควบคุมภายในและการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม
                1.7 การพัฒนาแผนการสอบบัญชีโดยรวมและการจัดทำแนวการสอบบัญชี

        2. การปฏิบัติงานตรวจสอบ ประกอบด้วย การทดสอบการควบคุมและการตรวจสอบเนื้อหาสาระ
                2.1 วงจรรายได้
                2.2 วงจรรายจ่าย
                2.3 วงจรการผลิต
                2.4 วงจรการลงทุน
                2.5 วงจรการจัดหาเงิน
                2.6 การตรวจสอบที่สำคัญเพิ่มเติม

        3. การเสร็จสิ้นการสอบบัญชีและการออกรายงานการสอบบัญชี
                3.1 การประเมินผลจากหลักฐานการสอบบัญชี
                3.2 การเสนอรายการปรับปรุงและรายการจัดประเภทบัญชี
                3.3 การออกรายงานการสอบบัญชี

     ประเภทของการตรวจสอบ
        1. การตรวจสอบงบการเงิน หมายถึง การตรวจสอบข้อมูลทางบัญชีและรายงานทางการเงิน เช่น งบดุล งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด
        และหมายเหตุประกอบงบการเงิน เพื่อประเมินว่าข้อมูลดังกล่าวมีความสมบูรณ์ เชื่อถือได้ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่
        โดยผู้สอบบัญชีทำหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินเพื่อแสดงความเห็นต่อความถูกต้องของงบการเงินนั้น โดยปฎิบัติตามหลักการพื้นฐาน ดังต่อไปนี้
                - มรรยาทผู้สอบบัญชี
                - มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป
                - การใช้วิจารณญานในการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
        2. การตรวจสอบการดำเนินการ หมายถึง การสอบทานขั้นตอน วิธีการปฏิบัติงานและภาระหน้าที่ต่างๆในองค์กร เพื่อให้มั่นใจว่า ลำดับขั้นตอน
        ในการปฎิบัติงานและภาระหน้าที่ในแต่ละหน่วยงานได้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้
        มีการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด และผลของงานนั้นได้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
        3. การตรวจสอบการปฎิบัติงานตามกฏระเบียบ หมายถึง การตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าการปฎิบัติงานขององค์กรเป็นไปตามกฏหมาย ระเบียบ
        ข้อบังคับของหน่วยงานกำกับดูแล และกฏระเบียบนโยบายขององค์กร
     มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป
        มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป หมายถึง แนวทางการปฎิบัติงานของผู้สอบบัญชี ผู้สอบบัญชีต้องปฎิบัติงานตรวจสอบงบการเงินตามมาตรฐาน
การสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปซึ่งกำหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชีประกอบด้วยหลักการพื้นฐานและวิธีการตรวจสอบที่สำคัญ รวมทั้ง
แนวทางปฎิบัติต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยในปัจจุบัน สภาวิชาชีพได้จัดทำร่างมาตรฐานการสอบบัญชีเพื่อใช้แทนมาตรฐานการสอบบัญชีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น